วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เจดีย์ชัยมงคล

อลังการงานสร้าง..พระมหาเจดีย์ชัยมงคล จ.ร้อยเอ็ด

พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตั้งอยู่ในบริเวณวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วราราม บนยอดภูเขาเขียว แนวเทือกเขาภูพาน อำเภอหนองพอก ใกล้กันมีหน้าผาสูงชันซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี ชาวบ้านเรียกว่า ผาน้ำย้อย
พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้ รับการออกแบบให้เป็นศิลปกรรมร่วมสมัยระหว่างภาคกลาง และภาคอีสาน เป็นการผสมผสานระหว่างพระปฐมเจดีย์ และพระธาตุพนม ออกแบบโดยกรมศิลปากร ตัวเจดีย์เป็นสีขาวตกแต่งลวดลาย ตระการตาด้วย สีทองเหลืองอร่าม รายล้อมด้วยเจดีย์องค์เล็กทั้ง 8 ทิศ ส่วนปลายยอดฉัตรทอง 9 ชั้น ใช้ทองคำหนัก 4,750 บาท หรือประมาณ 60 กิโลกรัม เป็นพระเจดีย์ที่ใหญ่องค์หนึ่งของประเทศไทย มีความกว้าง 101 เมตร ความยาว 101 เมตร ความสูง 101 เมตร สร้างในเนื้อที่ 101 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างจนถึงปัจจุบันกว่า 3,000 ล้านบาท ดำเนินการสร้างโดย “พระอาจารย์ศรี มหาวิโร” ซึ่งเป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น สามารถขึ้นไปได้ถึงแค่ชั้น 5 ส่วนชั้นที่ 6 และชั้นที่ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆัง และยอดฉัตรทอง ซึ่งแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้

ชั้นที่ 1 เป็นห้องโถงกว้างใหญ่ โอ่อ่า ผนังจารึกนามทานาธิบดีต่าง ๆ ใช้เป็นห้องประชุม บำเพ็ญบุญ มีรูปปั้นหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผู้ก่อตั้ง

ชั้นที่ 2 เป็นห้องโถงโอ่อ่าเช่นกัน ผนังติดตั้งรูปพระพุทธประวัติ ลวดลาย ไทยวิจิตรพิสดาร ใช้เป็นห้องประชุมสงฆ์ขนาดใหญ่ รองรับพระภิกษุสงฆ์ได้ 2,000-3,000 รูป

ชั้นที่ 3 เป็นที่ประดิษฐานรูปพระณาจารย์ ปราชญ์ อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือนสลักหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปัน โน 101 องค์

ชั้นที่ 4 จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงวัดวาอาราม สถานปฏิบัติสม ถะวิปัสสนา กรรมฐานที่หลวงปู่ศรี เคยบำเพ็ญธรรมม ด้านนอกจัดเป็นที่สามารถชมทัศนียภาพได้รอบทิศ

ชั้นที่ 5 บันไดเวียน 119 ชั้น เป็นห้องโถงรูประฆัง 8 เหลี่ยมบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ชั้นที่ 6 และ 7 เป็นองค์เจดีย์รูประฆังและยอดฉัตร ไม่สามารถขึ้นไปได้

ประวัติย่อ

วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย)
สถานที่ตั้ง
         วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา)
มูลเหตุในการก่อตั้งวัด
         เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมา
เมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์
มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า
สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่าผาน้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน
เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่าวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ
ตัดไม้ บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปราม
ด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดี
มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อันจะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองได้

 ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน
ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้
้ความตรึงเครียดทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น
เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
    
1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน
3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
     2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
     3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
     4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม
เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
     5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
     6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8
เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
     7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
     8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
     9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
     10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
     11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
     12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
     13. สร้า้งพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา
ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระ
เจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
     14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา
เจดีย์ชัยมงคล
     15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระ
มหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร
สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต
เสริมเหล็ก
     16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา
น้ำย้อย 1 ตำหนัก
     17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
     18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
   
             









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น